1. ผู้ชาย – ก็เพศชายมีลูกอัณฑะไว้สืบพันธุ์
2. ผู้หญิง – มีรูปร่างผอมเพรียว ชอบผู้ชายอวัยวะเพศคือจิมิ
3. ทอม – ลักษณะภายนอกคือเป็นชาย แต่อวัยวะเพศหญิง
4. ดี้ – ภายนอกเป็นผู้หญิงที่เหมือนจะชอบผู้ชาย แต่ภายในเค้าจะชอบทอม
5. ทอมเกย์ – ชอบทอมด้วยกัน ไม่เท่านั้นยังเลือดดี้ได้ด้วย งงกันเลยทีเดียว
6. ทอมเกย์คิง – ทอมปิ๊งทอม ไม่ชอบดี้ เป็นฝ่ายรุกเหมือนผู้ชายก็คือเกย์คิง
7. ทอมเกย์ควีน – ทอมฝ่ายรับ ไม่ชอบรุก เหมือนเกย์ควีน
8. ทอมทูเวย์ – ทอมลุกและรับได้หมดง่ายๆชอบ
9. เกย์คิง – คือชายที่ชอบชายและเป็นฝ่ายรุก
10. เกย์ควีน – คือชายที่ชอบชายและเป็นฝ่ายรับ
11. โบ๊ท – คือชายที่คบทั้งหญิง ทั้งเกย์คิง เกย์ควีน ทั้งรุกทั้งรับ ยกเว้นกระเทย
12. ไบท์ – คือหญิงที่ชอบทั้งทอม ทั้งเลส ทั้งชาย
13. เลสเบี้ยน – ทอมดี้
14. กระเทย – ก็กระเทยที่แปลงเพศเป็นผู้หญิง
15. อดัม – ท่านชายที่ชอบทอม ชอบผู้หญิงแมนๆ
16. แองจี้ – กระเทยที่ชอบทอมชอบดิลโด้ ไม่ชอบดุ้นของจริงนั่นเอง
17. เชอรร์รี่ – ผู้หญิงที่ชอบเกย์และกระเทย
18. สามย่าน – ผู้หญิงสาวที่ชอบหมด ดี้ ทอม หรือสาวชอบผู้ชาย เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ

สิทธิทางสังคมกับบุคคลเพศที่สาม
                เพศทั่วไปที่มีบนโลกนี้คือจะมีกันแค่สองเพศคือ เพศชาย และเพศหญิงโดยที่ใช้อวัยวะเพศที่ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยกคือจู๋กับจิ๋มนั่นเอง แต่ในปัจจุบันนี้ได้ปรากฏว่ามีเพศทางเลือกถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งคำว่า “เพศทางเลือก” หรือหมายถึง ทอม ดี้ เกย์ กระเทย หมายความถึง เพศที่ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ที่ต้องการเลือกเองว่าตนต้องการเป็นเพศใดหรือที่คนในสังคมเรียกว่า “เพศที่สาม” หรือ “กลุ่มรักร่วมเพศ” นั่นเอง ซึ่งคนในกลุ่มนี้ไม่ว่าจะเป็นกะเทย ตุ๊ด เกย์ ทอม ดี้ เลสเบี้ยน ก็ย่อมหมายถึงกลุ่มคนที่มีความพึงพอใจหรือความรักใคร่กับคนเพศเดียวกัน โดยทั่วไปจะถูกมองเหยียดเพศหรือ Racism จากคนทั่วไป เพราะมีเพศที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ถูกมองด้วยสายตารังเกียจจากเพศปกติ ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่มาก ถูกเอารัดเอาเปรียบในหลายๆด้านและทัศคติต่อคนภายนอกเสมอเพราะความอ่อนแอหรือต่อพวกเค้าก็ไม่ดีเป็นเหตุให้พวกเขาเหล่านี้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายๆเรื่อง และรวมถึงสิทธิบางประการที่คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงได้เหมือนกับคนในเพศปกติเช่นการเข้าห้องน้ำ หรือการเข้าสังคมออกไป
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศนั้นได้ให้การยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ได้วางหลักไว้ว่า
                ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
                ข้อ 2 (1) ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพบรรดาที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าชนิดใดๆดังเช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ
                รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคของบุคคลเอาไว้ในมาตรา 30 โดยมีหลักว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน”
                มาตรา 30 วรรคสามได้วางหลักว่า “การเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้”
อ้างอิงจาก รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และ juneyeetinkkw2.blogspot.com. au/